1. การโอนหุ้นกู้ สามารถเลือกวิธีการโอนหลักทรัพย์ได้ 2 วิธี ได้แก่
1.1 การโอนใบหุ้นกู้โดยการสลักหลัง
นายทะเบียนจะรับรองรายการโอน ก็ต่อเมื่อผู้โอน และ/หรือ ผู้รับโอน นำใบหุ้นกู้มาแสดงและแจ้งการโอนต่อนายทะเบียนหุ้นกู้ เพื่อบันทึกการโอนในระบบนายทะเบียนหุ้นกู้ ทั้งนี้ชื่อผู้ถือหุ้นกู้ที่หน้าใบหุ้นกู้ยังเป็นของผู้ถือหุ้นกู้เดิม แต่ชื่อผู้รับโอนจะแสดงอยู่ด้านหลังใบหุ้นกู้ในช่องผู้รับโอน
1.2 การโอนหุ้นกู้โดยออกใบหุ้นกู้ฉบับใหม่
นายทะเบียนจะจัดพิมพ์ใบหุ้นกู้ให้ใหม่ ซึ่งระบุชื่อของผู้ถือหุ้นกู้ที่รับโอนสิทธิ์
การกรอกแบบฟอร์มและยื่นเอกสาร
หมายเหตุ: หากท่านกรอกรายละเอียดในแบบคำขอของนายทะเบียนไม่ถูกต้อง ห้ามใช้น้ำยาลบคำผิด ให้ขีดฆ่าคำที่ผิด และลงนามกำกับที่ขีดฆ่า
ระยะเวลาในการดำเนินการและวิธีการรับใบหุ้นกู้ใหม่ (ถ้ามี)
เอกสารประกอบ
1. ใบหุ้นกู้ฉบับจริง ผู้โอนลงลายมือชื่อในช่องผู้โอนและผู้รับโอนลงลายมือชื่อในช่องผู้รับโอน
2. เอกสารประกอบของผู้โอนและผู้รับโอน
3. สำเนาสมุดบัญชีธนาคารของผู้รับโอน
ผู้ถือหุ้นกู้สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลง คำนำหน้าชื่อ / ชื่อ / นามสกุล / ที่อยู่ในการจัดส่งเอกสาร หรืออื่น ๆ โดยมีขั้นตอนดังนี้
การกรอกแบบฟอร์มและยื่นเอกสาร
หมายเหตุ: หากท่านกรอกรายละเอียดในแบบคำขอของนายทะเบียนไม่ถูกต้อง ห้ามใช้น้ำยาลบคำผิด ให้ขีดฆ่าคำที่ผิด และลงนามกำกับที่ขีดฆ่า
กรณีเปลี่ยนแปลง คำนำหน้าชื่อ / ชื่อ / นามสกุล ต้องแนบเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
ระยะเวลาดำเนินการและวิธีการรับใบหุ้นกู้ใหม่ (ถ้ามี)
หมายเหตุ: ในกรณีที่ใบหุ้นกู้ฝากไว้กับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ฯ ให้ดำเนินการยื่นแบบฟอร์มผ่านบริษัทผู้ฝากหลักทรัพย์ของท่าน
เอกสารประกอบ
1. ใบหุ้นกู้ฉบับจริง
2. กรณีบุคคลธรรมดา: สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน, ใบเปลี่ยนแปลงชื่อ และ/หรือ ชื่อสกุล
3. กรณีนิติบุคคล: หนังสือรับรอง, หนังสือมอบอำนาจ, สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (ประทับตราบริษัทถ้ามี)
ผู้ถือหุ้นกู้สามารถแจ้งเปลี่ยนแปลงวิธีการรับดอกเบี้ยได้ที่สำนักงานใหญ่ของนายทะเบียนหุ้นกู้ หรือที่สาขาของธนาคารไทยพาณิชย์ อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงวิธีการรับดอกเบี้ยในแต่ละครั้ง จะมีผลเฉพาะหลักทรัพย์ที่มีใบหุ้นกู้ ซึ่งผู้ถือหุ้นกู้ได้แจ้งความประสงค์ไว้กับนายทะเบียนเท่านั้น โดยไม่มีผลต่อหลักทรัพย์ หรือหุ้นกู้อื่นที่มิได้แจ้งความประสงค์
การกรอกแบบฟอร์มและยื่นเอกสาร
หมายเหตุ: หากท่านกรอกรายละเอียดในแบบคำขอของนายทะเบียนไม่ถูกต้อง ห้ามใช้น้ำยาลบคำผิด ให้ขีดฆ่าคำที่ผิด และลงนามกำกับที่ขีดฆ่า
ระยะเวลาดำเนินการ
หมายเหตุ: ในกรณีที่ไม่สามารถโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารได้ นายทะเบียนจะออกเช็คและจัดส่งให้ผู้ถือหุ้นกู้ในภายหลัง
เอกสารประกอบ
1. กรณีบุคคลธรรมดา: สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
2. กรณีนิติบุคคล: หนังสือรับรอง, หนังสือมอบอำนาจ, สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ/ผู้กระทำการแทน (ประทับตราบริษัทถ้ามี)
3. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก หรือ Bank Statement ที่ปรากฏชื่อและนามสกุล / ชื่อธนาคาร / เลขที่บัญชีของผู้ถือหุ้นกู้ ที่ต้องการเปลี่ยนแปลง พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
ผู้ถือหุ้นกู้สามารถขอแยกใบหุ้นกู้ โดยมีขั้นตอนดังนี้
การกรอกแบบฟอร์มและยื่นเอกสาร
หมายเหตุ: หากท่านกรอกรายละเอียดในแบบคำขอของนายทะเบียนไม่ถูกต้อง ห้ามใช้น้ำยาลบคำผิด ให้ขีดฆ่าคำที่ผิด และลงนามกำกับที่ขีดฆ่า
ระยะเวลาดำเนินการและวิธีการรับใบหุ้นกู้ใหม่
เอกสารประกอบ
1. ใบหุ้นกู้ฉบับจริง
2. กรณีบุคคลธรรมดา: สำเนาบัตรประชาชน
3. กรณีนิติบุคคล: หนังสือรับรอง, หนังสือมอบอำนาจ, สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (ประทับตราบริษัทถ้ามี)
4. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก หรือ Bank Statement ที่ปรากฏชื่อและนามสกุล / ชื่อธนาคาร / เลขที่บัญชีของผู้ถือหุ้นกู้ ที่ต้องการเปลี่ยนแปลง พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
5.1 การแก้ไขเช็คดอกเบี้ยหุ้นกู้ ให้ใช้ แบบฟอร์มหนังสือขอออกเช็คฉบับใหม่แทนฉบับเดิมที่ชำรุด/หมดอายุ ในกรณีดังต่อไปนี้
5.2 การขอออกเช็คใหม่กรณีเช็คสูญหาย ให้ใช้ แบบฟอร์มหนังสือขอออกเช็คเงินปันผล/ดอกเบี้ยฉบับใหม่แทนฉบับที่สูญหาย
โดยสามารถดำเนินการได้ดังนี้
กรอกแบบฟอร์มและยื่นเอกสาร
หมายเหตุ: หากท่านกรอกรายละเอียดในแบบคำขอของนายทะเบียนไม่ถูกต้อง ห้ามใช้น้ำยาลบคำผิด ให้ขีดฆ่าคำที่ผิด และลงนามกำกับที่ขีดฆ่า
ระยะเวลาดำเนินการ
เอกสารประกอบ
1. กรณีเช็คหมดอายุ/ชำรุด: เช็คหมดอายุฉบับจริง หรือเช็คชำรุดฉบับจริง (แล้วแต่กรณี)
2. กรณีเช็คสูญหาย: ใบแจ้งความฉบับจริง
3. กรณีบุคคลธรรมดา: สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
4. กรณีนิติบุคคล: หนังสือรับรอง, หนังสือมอบอำนาจ, สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (ประทับตราบริษัทถ้ามี)
ผู้ถือหุ้นกู้สามารถแจ้งนายทะเบียนหุ้นกู้เพื่อขอออกสำเนาหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่ายของดอกเบี้ยหุ้นกู้เพื่อทดแทนฉบับเดิมที่สูญหาย โดยสามารถดำเนินการได้ดังนี้
เอกสารประกอบ
1. กรณีบุคคลธรรมดา: สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
2. กรณีนิติบุคคล: หนังสือรับรอง, หนังสือมอบอำนาจ, สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (ประทับตราบริษัทถ้ามี)
ผู้ถือหุ้นกู้สามารถขอให้นายทะเบียนออกหนังสือรับรองการถือหุ้นกู้ เพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานการเงินประกอบการขออนุมัติอื่น ๆ เช่น การขอวีซ่า ฯลฯ โดยมีขั้นตอนดังนี้
การกรอกแบบฟอร์มและยื่นเอกสาร
หมายเหตุ: หากท่านกรอกรายละเอียดในแบบคำขอของนายทะเบียนไม่ถูกต้อง ห้ามใช้น้ำยาลบคำผิด ให้ขีดฆ่าคำที่ผิด และลงนามกำกับที่ขีดฆ่า
ระยะเวลาดำเนินการ
เอกสารประกอบ
1. กรณีบุคคลธรรมดา: สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
2. กรณีนิติบุคคล: หนังสือรับรอง, หนังสือมอบอำนาจ, สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (ประทับตราบริษัทถ้ามี)
ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นกู้ทำใบหุ้นกู้ชำรุดหรือสูญหาย นายทะเบียนจะดำเนินการออกใบหุ้นกู้ใหม่ โดยผู้ถือหุ้นกู้จะต้องดำเนินการดังนี้
การกรอกแบบฟอร์มและยื่นเอกสาร
หมายเหตุ: หากท่านกรอกรายละเอียดในแบบคำขอของนายทะเบียนไม่ถูกต้อง ห้ามใช้น้ำยาลบคำผิด ให้ขีดฆ่าคำที่ผิด และลงนามกำกับที่ขีดฆ่า
ระยะเวลาดำเนินการและวิธีการรับใบหุ้นกู้ใหม่
เอกสารประกอบ
1. กรณีใบหุ้นกู้สูญหาย: ใบแจ้งความฉบับจริง
2. กรณีใบหุ้นกู้ชำรุด: ใบหุ้นกู้ฉบับจริง
3. กรณีบุคคลธรรมดา: สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
4. กรณีนิติบุคคล: หนังสือรับรอง, หนังสือมอบอำนาจ, สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (ประทับตราบริษัทถ้ามี)
หากผู้ถือหุ้นกู้เสียชีวิต ก่อนที่หุ้นกู้จะครบกำหนดไถ่ถอน ผู้จัดการมรดก สามารถขอทำเรื่องรับโอนหลักทรัพย์มรดกนี้ได้ โดยดำเนินการดังนี้
หมายเหตุ: 1.หากท่านกรอกรายละเอียดในแบบคำขอของนายทะเบียนไม่ถูกต้อง ห้ามใช้น้ำยาลบคำผิด ให้ขีดฆ่าคำที่ผิด และลงนามกำกับที่ขีดฆ่า
2.กรณีผู้จัดการมรดกมีมากกว่าหนึ่งคนต้องลงนามทุกท่าน
ระยะเวลาดำเนินการและวิธีการรับใบหุ้นกู้ใหม่ (ถ้ามี)
บุคคลธรรมดา
นิติบุคคล
คณะบุคคล
หมายเหตุ – เอกสารประกอบที่ใช้แสดงตัวตน เช่น สำเนาบัตรประชาชน เมื่อแนบมาพร้อมกับใบคำขอ ธนาคารไทยพาณิชย์ ขอให้ท่านขีดฆ่า/ปิดทึบข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว (sensitive personal data) เช่น ข้อมูลศาสนา กรุ๊ปเลือด และเชื้อชาติ เป็นต้น ให้ไม่สามารถอ่านข้อมูลดังกล่าวได้ และรับรองสำเนาถูกต้อง